นางสาวธนาภรณ์ ใจกล้า เลขที่20 5511203688
- การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์จะพูดถึงพัฒนาทางภาษาของเด็กแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะแบ่งพัฒนาการของเด็กตามขั้นบันได ได้แก่ เด็กแรกเกิดจนถึง 2ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กยังไม่มีการพัฒนามากนัก จนกระทั่งเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี ซึ่งในช่วงจะแบ่งย่อยๆออกเป็น 2ขั้น ก็คือพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4ปี และ อายุ 4-6ปี เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ค่อนข้างดีขึ้นมาก เด็กจะมีการคิดแบบใช้เหตุผลมากขึ้น ที่เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ นอกจากนี้ เสียงเพลงยังช่วยให้เด็กได้พัฒนา ทางด้านภาษาและประสาทสัมผัสอีกด้วย ยกตัวอย่างเพลงกล่อมเด็ก เช่น
เพลงปลูกมัน
ไปไหนเหอ พาน้องไปกัน
ถางไร่โปลกมัน มันไม่ลงหัว
แผ่นดินหมั่นดี แต่มันหมั่นชั่ว
มันไม่ลงหัว สาวย่านไห้วัว..เอ้อ..เหอ..กิน
- วิจารณ์ เพลงกล่อมเด็กบทนี้เปรียบเทียบแนวจิตวิทยาเกี่ยวกับนิสัยของคนว่า คนไม่ดีโดยนิสัยชั่วนั้นเหมือนพันธุ์มันที่ไม่ดี ไม่ว่าจะปลูกในที่ดินชนิดไหนย่อมไม่เกิดผล คือไม่ว่าคนนั้นจะไปอยู่ในสถานที่ใดในภาวะอย่างไรก็เอาดีไม่ได้ รังแต่จะตกเป็นอาหารของคนอื่นเหมือนมันที่ไม่ลงหัวนั้นในที่สุดก็ต้องสาวย่านถอนต้นให้เป็นอาหารของสัตว์ (สาวย่านให้วัวกิน)ไม่มีคุณต่อผู้ปลูกฝังชุบเลี้ยง ข้อความในวรรคที่ว่า “ไปไหนพาน้องไป กัน” นั้นเตือนให้คิดว่า คนนั้นไปไหนไม่ไปแต่ตัว แต่เอานิสัยตามตัวไปด้วยทุกแห่งหน
- อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วเชื่อมโยงไปในบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็กปฐมวัยว่า ในช่วงอายุเท่าไหร่ๆจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก แล้วอาจารย์ให้บอกว่าเพลง เกาะสมุย ที่ฟังไปมีเนื้อว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น และอาจารย์ยังสอนเกี่ยวกับการทำหนังสือภาพสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อฝึกการพัฒนาตามลำดับขั้นของเด็ก ให้จับกลุ่มๆละ 6 คน ทำหนังสือภาพในหน่วยที่เราจะทำ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดหน่วยเกี่ยวกับผัก หัวข้อเรื่อง .. หน้าผักเป็นอย่างไร.. แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าหัวข้อเรื่องไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาข้างในของหนังสือ ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้แก้ไขตามที่อาจารย์บอกคะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการการปฏิบัติได้จริงคะ ว่าถ้าเราจะสอนเด็กปฐมวัยในแต่ละวันเราต้องมีการเตรียมแผนการสอนอย่างไร แล้วก่อนจะเข้าสู่บทเรียนเราจะมีวิธีัการอย่างไรให้เด็กๆสนใจ อยากรู้สิ่งที่เรากำลังจะสอนอาจจะเป็นการเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลงหรือนิทานก็ได้ แล้วเราจะมีวิธีเชื่อมโยงอย่างไรให้เข้าสู่บทเรียนที่เรากำลังจะสอนให้ดี
ต่อจากร้องเพลงกล่อมเด็กอาจารย์ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน 5-6 คน
มาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก กลุ่มผลได้หัวข้อง (อะไร เป็น ผลไม้ รส หวาน)
1. ทุเรียน เป็น ผลไม้ รส หวาน
2. ลำไย เป็น ผลไม้ รส หวาน
3. ละมุด เป็น ผลไม้ รส หวาน
4. เงาะ เป็น ผลไม้ รส หวาน
5. มังคุด เป็น ผลไม้ รส หวาน
6. แตงโม เป็น ผลไม้ รส หวาน
ข้อควรระวัง ถ้าเด็กๆ ไม่ ระวัง เมล็ด อาจ ติด คอ ได้ นะครับ
มาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก กลุ่มผลได้หัวข้อง (อะไร เป็น ผลไม้ รส หวาน)
1. ทุเรียน เป็น ผลไม้ รส หวาน
2. ลำไย เป็น ผลไม้ รส หวาน
3. ละมุด เป็น ผลไม้ รส หวาน
4. เงาะ เป็น ผลไม้ รส หวาน
5. มังคุด เป็น ผลไม้ รส หวาน
6. แตงโม เป็น ผลไม้ รส หวาน
ข้อควรระวัง ถ้าเด็กๆ ไม่ ระวัง เมล็ด อาจ ติด คอ ได้ นะครับ
แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนมานำเสนองานของกลุ่มตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น