วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

วันที่30 สิงหาคม 2556
กลุ่ม103 ( ศุกร์เช้า) เวลาเรียน 08.30-12.20น.

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้

- ในสัปดาห์ครั้งนี้อาจารย์ให้คิดไอเดียในการผลิตสื่อหรือเกมการศึกษา ว่าสื่อที่เราทำเปนทฤษฏีของใคร วิธีการเล่น ประโยชน์ของการในประใช้ ให้เกี่ยวข้องกับหลักทางภาษา แล้วออกมานำเสนองาย

-  กลุ่มดิฉันก็ได้คิดสื่อเกมการศึกษา เกมถอดรหัสคำ เป็นทฤษฏีของบรูเนอร์

 ประโยชน์การนำไปใช้
1.ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2.ฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางภาษา โดยการเชื่อมคำจากภาพ
3.ฝึกให้เด็กรู้จักคิดและการเชื่อมโยง แล้วจึงเกิดเปนคำใหม่
วิธีการเล่น
1.เหมา้ะสำหรับเด็ก อายุ 4-6 ปี
2.ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำถึงวิธีการเล่นของเกทถอดรหัสคำ
3.นำภาพแต่ละภาพมาวางต่อกันเพื่อให้เกิดคำใหม่
4.ควรให้เด็กได้ท่องจำหรือฝึกการเขียนตามรอยปะ




สัปดาห์ที่ 11



วันที่ 23 สิงหาคม 2556

กลุ่ม103 ( ศุกร์เช้า) เวลาเรียน 08.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้

- ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ สอนเรื่องสื่อการเรียนรู้ทางภาษา คือ ประเภทของสื่อการสอน
1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บัตรคำ บัตรภาพ หนังสือนิทาน เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
2.สื่อวัสดุึอุปกรณ์ เช่น สิ่งของต่างๆ ของจริง หุ่นจำลอง
3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ แทปแล็ต
4.สื่อกิจกรรม เช่น โดมิโน ต่อจิ๊กซอ เกม เพลง
5.สื่อบริบท เช่น สภาพแวดล้อม ห้องเรียน ชุมชน
- แล้่วอาจารย์ให้ฟังเสียงสัตว์ต่างๆแล้วทายว่าเสียงนั้นคือสัตว์อะไร ได้แก่ แมว ไก่ วัว ม้า เป็ด แพะ
ในทายชั่วโมงอาจารย์
อาจารย์สอนให้ทำสื่อการสอนคำศัพท์


วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 16 สิงหาคม 2556

 ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ประจำวิชา ให้อาจารย์พิเศษมาสอนการทำสื่อแทน อาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ10คน
1. ให้ทำสื่อการเรียน เกี่ยวกับ หุ่นนิ้วมือ ประจำอาเซียน


                                     

                                               



2. อาจารย์ให้ทำสื่อเกี่ยวกับป๊อปอัพ เกี่ยวกับธงอาเซียน

                    



                         



                                        


                                       






ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ได้ความรู้จากการทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ และ การทำป๊อบอั๊บ มีวิธีการทำที่หลากหลาย ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำสื่อ สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันใรการสอนเด็กปฐมวัย เล่านิทาน บอกถึงธงชาติของ 10 ประเทศอาเซียน หรือแม้กระทั่งนำไปสอนน้องๆหลานๆที่บ้านได้เพื่อสร้างความรักความผูกพันให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วยคะ และยังเป็นงานเสริมยามว่างได้คะ สามารถทำจำหน่ายได้คะ

สัปดาห์ที่ 9

วันที่9 สิงหาคม 2556



1. อาจารย์เปิด Blogger ของนักศึกษาทุกคนและบอกข้อบกพร่องให้แก้ใข
ให้เพื่อนในห้องเสนอความคิดเห็นว่าของเพื่อนแต่ละคนมีข้อบกพร่องควรกลับไปปรับปรุงแก้ไขส่วนไหนบ้าง เช่น
- ชื่อบล็อกต้องเป็นภาษาอังกฤษ
- มีคำอธิบายบล็อกว่าเกี่ยวกับอะไร
- อาจารย์เสริมให้ใส่เนื้อหาเพิ่มเติมลงไปด้วย ไม่ควรใส่แต่หัวข้อ และเน้นควรมีวีดีโอ รูปภาพ
2. อาจารย์สอนร้องเพลง เพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- เวลาร้องเพลง จะต้องให้เด็กพูดตามก่อน เพื่อเด็กจะได้รู้เนื้อร้องที่ถูกต้อง
จากนั้นก็ให้รองตามทีละวรรค
- เพลงสำหรับเด็กควรจะสั้นๆ จำง่าย แล้วก็ใช้คำซ้ำๆ ตัวอย่างเช่น


                                                     เพลง สวัสดี (ประเทศไทย)

                                                    สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน

                                                    เธอและฉัน พบกันสวัสดี

                                 - สามารถเปลี่ยนจากคำว่าสวัสดี ของไทยเป็นของภาษาอื่นได้ เช่น

                                    หนีห่าว ประเทศสิงค์โปร

                                    สะบายดี ประเทศลาว

                                   ซาลามัดดาตัง ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน

                                   กูมูสตา ประเทศฟิลิปปินส์

                                   มิงกะลาบา ประเทศพม่า

                                   ซินจ้าว ประเทศเวียดนาม

                                   จุมเรียบซัว ประเทศกัมพูชา

                                   เซลามัดปากิ ประเทศอินโดนีเซีย



                                   เพลง Hello

                                Hello Hello Hello! How are you?

                               I'm fine I'm fine I hope that you are too.

                                      แปล

                         สวัสดี สวัสดี สวัสดี สบายดีหรือ

                        ฉันสบายดี ฉันสบายดี ฉันหวังว่าเธอคงจะสบายดี




                                เพลง ตบแผละ

                    ตบแผละ ตบแผละ ตบแผละ ปากใจตรงกันนั้นแหละ

                    รามาลองฝึกกัน จิต กาย สัมพันธ์กับปากนั้นแหละ

            อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กับเพื่อนข้างๆ ร้องเพลงและตบมือให้เข้ากับจังหวะเพลง


                                         เ พลง บอกว่าน่ารักจัง

                                   บอกกับคนซ้ายมือ ว่าน่ารักจัง

                            บอกกับคนขวามือ ว่าน่ารักจัง (ซ้ำ 1 รอบ)

                                  บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกๆคน

                                 บอกกับเพื่อนทุกคน ไม่เว้นสักคน

                                    บอกกับเพื่อนทุกคน ทุกคน

                                               บอกว่าน่ารักจัง



-วัตถุประสงค์ของเพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

1.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา

2.เพื่อให้เด็กจำภาษาได้ง่าย

3.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในเคลื่อนไหวร่างกายประกอยจังหวะ

4.เพื่อให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ




-การใช้เพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เอาไว้เก็บเด็กหรือสงบเด็ก

การเปิดเพลงคือการนำเข้าสู่บทเรียน

ใช้ตอนเด็กไม่สนใจเรียนเพื่อเด็กกับมาสนใจเรา








3. การถอดรหัสคำ

- วัตถุประสงค์ของการถอดรหัสคำ

เพื่อสอดแสรกคำศัพย์ให้เด็กจำคำต่างๆได้ง่ายขึ้น

เพื่อให้เด็กได้คิดตามอย่างไม่น่าเบื่อ





                                                                       ปลา - ดาว

+ น    

ปูน


สัปดาห์ที่ 8



วันที่2 สิงหาคม 2556



                                                                   สอบกลางภาค






                                                 

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่7

 วันที่ 26/07/2556  ครั้งที่7  กลุ่มเรียน 103  เวลา 08.30-12.20 น.
 นางสาวธนาภรณ์ ใจกล้า เลขที่20 5511203688

 -    การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์จะพูดถึงพัฒนาทางภาษาของเด็กแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะแบ่งพัฒนาการของเด็กตามขั้นบันได ได้แก่ เด็กแรกเกิดจนถึง 2ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็กยังไม่มีการพัฒนามากนัก จนกระทั่งเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี ซึ่งในช่วงจะแบ่งย่อยๆออกเป็น 2ขั้น ก็คือพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4ปี และ อายุ 4-6ปี เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ค่อนข้างดีขึ้นมาก เด็กจะมีการคิดแบบใช้เหตุผลมากขึ้น ที่เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ นอกจากนี้ เสียงเพลงยังช่วยให้เด็กได้พัฒนา ทางด้านภาษาและประสาทสัมผัสอีกด้วย ยกตัวอย่างเพลงกล่อมเด็ก เช่น
 
เพลงปลูกมัน 

 ไปไหนเหอ                         พาน้องไปกัน
ถางไร่โปลกมัน                    มันไม่ลงหัว
แผ่นดินหมั่นดี                      แต่มันหมั่นชั่ว
มันไม่ลงหัว สาวย่านไห้วัว..เอ้อ..เหอ..กิน

-      วิจารณ์ เพลงกล่อมเด็กบทนี้เปรียบเทียบแนวจิตวิทยาเกี่ยวกับนิสัยของคนว่า คนไม่ดีโดยนิสัยชั่วนั้นเหมือนพันธุ์มันที่ไม่ดี ไม่ว่าจะปลูกในที่ดินชนิดไหนย่อมไม่เกิดผล คือไม่ว่าคนนั้นจะไปอยู่ในสถานที่ใดในภาวะอย่างไรก็เอาดีไม่ได้ รังแต่จะตกเป็นอาหารของคนอื่นเหมือนมันที่ไม่ลงหัวนั้นในที่สุดก็ต้องสาวย่านถอนต้นให้เป็นอาหารของสัตว์ (สาวย่านให้วัวกิน)ไม่มีคุณต่อผู้ปลูกฝังชุบเลี้ยง ข้อความในวรรคที่ว่า “ไปไหนพาน้องไป กัน” นั้นเตือนให้คิดว่า คนนั้นไปไหนไม่ไปแต่ตัว แต่เอานิสัยตามตัวไปด้วยทุกแห่งหน

         -   อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วเชื่อมโยงไปในบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็กปฐมวัยว่า ในช่วงอายุเท่าไหร่ๆจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก แล้วอาจารย์ให้บอกว่าเพลง เกาะสมุย ที่ฟังไปมีเนื้อว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น และอาจารย์ยังสอนเกี่ยวกับการทำหนังสือภาพสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อฝึกการพัฒนาตามลำดับขั้นของเด็ก ให้จับกลุ่มๆละ 6 คน ทำหนังสือภาพในหน่วยที่เราจะทำ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดหน่วยเกี่ยวกับผัก หัวข้อเรื่อง .. หน้าผักเป็นอย่างไร.. แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าหัวข้อเรื่องไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาข้างในของหนังสือ ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้แก้ไขตามที่อาจารย์บอกคะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการการปฏิบัติได้จริงคะ ว่าถ้าเราจะสอนเด็กปฐมวัยในแต่ละวันเราต้องมีการเตรียมแผนการสอนอย่างไร แล้วก่อนจะเข้าสู่บทเรียนเราจะมีวิธีัการอย่างไรให้เด็กๆสนใจ อยากรู้สิ่งที่เรากำลังจะสอนอาจจะเป็นการเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลงหรือนิทานก็ได้ แล้วเราจะมีวิธีเชื่อมโยงอย่างไรให้เข้าสู่บทเรียนที่เรากำลังจะสอนให้ดี




ต่อจากร้องเพลงกล่อมเด็กอาจารย์ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน  5-6  คน
มาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก  กลุ่มผลได้หัวข้อง  (อะไร  เป็น  ผลไม้  รส  หวาน)
1. ทุเรียน  เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
2.  ลำไย   เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
3.  ละมุด   เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
4.  เงาะ     เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
5.  มังคุด   เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
6.  แตงโม  เป็น  ผลไม้  รส  หวาน
ข้อควรระวัง  ถ้าเด็กๆ  ไม่  ระวัง  เมล็ด  อาจ  ติด  คอ  ได้  นะครับ

แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนมานำเสนองานของกลุ่มตนเอง

สัปดาห์ที่ 6

19/07/56 (ครั้งที่6)

ในสัปดาห์นี้ ไม่มีเนื้อหาการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้ตรวจความคืบหน้าของบล็อคแต่ละคนคนในชั้นเรียนว่ามีความคืบหน้าไปถึงแล้ว และได้บอกแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบล็อคของแต่ละคนว่าใครขาด อะไรตรงไหนบ้าง และให้กลับไปแก้ไข